แนวทางป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรง
แนวทางในการป้องกันการใช้ความรุนแรงในครอบครัวและสังคม มีดังนี้
๑ ปลูกฝังความรักและความเข้าใจกันในครอบครัว พูดจากันด้วยเหตุผล เห็นใจผู้อื่นอ่อนแอกว่า ไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน
๒ หลีกเลื่องปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความรุ่นแรง เช่น การดื่มสุรา การคบชู้ เล่นการพนัน การทะเลาะเบาะแว้งมีเรื่องกันปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดความรุ่นแรงได้
๓ จัดการกับอารมณ์และความเครียด เพราะเมื่อเกิดอารมณ์ไม่ดีอาจก่อให้เกิดการใช้ความรุ่นแรง
๔ มีค่านิยมที่ถูกต้อง เช่น ผู้ชายไม่ถืออำนาจและทำรุ่นแรงกับผู้หญิง ไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร รู้จักใช้ถุงยางอนามัย และไม่ก่อคดีข่มขืน
๕ เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องให้ความร่วมมือ โดยควบคุมและป้องกันปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด
เมื่อเกิดความรุนแรงในครอบครัว และสังคม ควรปฏิบัติดังนี้
๑ พาผู้บาดเจ็บไปรับการรักษาจากแพทย์
๒ พาผู้ป่วยไปพบจิตแพทย์
ถ้าเป็นความกระทบกระเทือนทางจิตใจ เช่น ถูกข่มขืน ถูกทำร่างกายจนเสียขวัญ
ถูกขู่อาฆาต ถูกหน่วงเหนียวใจกักขังจนเป็นเหตุให้เสียสุขภาพจิตควรไปพบแพทย์
๓
พาผู้ที่ชอบใช้ความรุนแรงไปพบจิตแพทย์ เพื่อตรวยสอบความผิดปกติของเขาว่ามีความผิดปกติทางจิตหรือไม่
๔
ควรมีการไกล่เกลี่ยประนีประนอมกัน เช่น
ให้ทั้งสองฝ่ายปรึกษากับคนที่ตนนับถือ หรือ พบเจ้าหน้าที่ตำรวจ
แม้ว่าจะมีปัญหาความรุนแรงเกิดขึ้นแล้วก็ตาม
ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดความรุนแรงขึ้นอีก
๕
แจ้งความดำเนินคดีเอาผิดกับผู้ก่อความรุนแรง เพื่อให้เข็ดหลาบ จะได้ไม่ก่อความรุนแรงซ้ำอีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น